ถุงยางอนามัย และวิธีการใช้ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยในปัจจุบันทำมาจากยางธรรมชาติ (Latex) ที่ได้ผ่านการทดสอบและตรวจสอบแล้วว่ามีความปลอดภัย ไม่มีรูรั่ว และมีความทนทานตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาทั่วไป หรือสามารถรับฟรีที่สถานพยาบาลต่าง ๆ การใช้ถุงยางอนามัยควรใช้ก่อนที่อวัยวะเพศทั้งสองฝ่ายจะสัมผัสกัน
การกินยาก่อนเสี่ยง (pre-exposure prophylaxis)
มีวิธีปฏิบัติโดยสรุปคือ
- การใช้ยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสเอชไอวี (เพร็พ) ต้องรู้ผลเลือดก่อนว่าไม่มีเชื้อเอชไอวี
- ติดต่อขอรับยาได้ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วไป
- การป้องกันได้ดีเพศชายควรกินยา 4 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพศหญิงควรกินยา 6 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพของยาจึงจะส่งผลป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกินยาหลังเสี่ยง (post-exposure prophylaxis)
มีวิธีปฏิบัติโดยสรุปคือ
- การใช้ยาป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อไวรัสเอชไอวี (เป๊ป) ต้องกินป้องกันหลังมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี ภายใน 72 ชั่วโมง
- ติดต่อขอรับการตรวจเลือดและยาได้ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วไป
- ป้องกันได้ดีต้องกินยาหลังเสี่ยง ภายใน 3 วัน เป็นเวลา 28 วัน จากนั้นตรวจเลือดยืนยันผล
การขลิบ (Circumcision)
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มีส่วนช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีลง ซึ่งเคยมีรายงานการวิจัยออกมาว่าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายที่หนาจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค เมื่อขลิบออกจะทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด แต่อย่างไรก็ต้องทำควบคู่ไปกับวิธีป้องกันอื่น ๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (U=U, Undetectable = Untransmissible)
นั่นคือการกินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ใช้เชื้อถูกส่งต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น (HIV treatment as prevention) นั่นคือ คนที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีต้องกินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ต้องตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือดเป็นประจำ ถ้าน้อยกว่า 200 copies ต่อซีซีของเลือด ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนและไม่ทำให้คู่นอนติดเชื้อไวรัสเอชไอวีไปด้วย